วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมการสอน

นายประวิทย์ ดวงจันทร์ เลขที่ 31

การสอนแบบ “สถานการณ์จำลอง” (Simulation)
ความหมายของสถานการณ์จำลอง สถานการณ์จำลองเป็นการสร้างสถานการณ์เลียนแบบสถานการณ์จริง เพื่อให้ผู้เรียนเข้าร่วมในสถานการณ์นั้นตามบทบาทความรับผิดชอบ ผู้เรียนมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนในขอบเขตการตัดสินใจของตนเอง ครูมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้สถานการณ์จำลองดำเนินไปได้ด้วยดี การใช้สถานการณ์จำลองเป็นวิธีการที่วงการทหารนำมาใช้ก่อน โดยนำมาใช้ซ้อมในการรบของทหารที่จะส่งไปสมรภูมิ โดยใช้วิธีหรือยุทธวิธีเดียวกันกับการรบในสนามจริงแต่แตกต่างกันที่ใช้กระสุนปลอม

ประเภทของสถานการณ์จำลอง
1. สถานการณ์จำลองที่ใช้กลยุทธ์ในการตัดสินใจ ตัวอย่างของสถานการณ์จำลองประเภทนี้ เช่น เกมสงคราม
2. สถานการณ์จำลองที่ใช้การวินิจฉัย (Diagnostic Simulations) สถานการณ์นี้มักใช้ในสาขาแพทย์ ในการฝึกหัดและประเมินผลของนักศึกษาแพทย์
3. สถานการณ์จำลองการจัดการขั้นวิกฤต (Crisis – Management Simulation) กรณีภัยธรรมชาติ
4. สถานการณ์จำลองการจัดการด้านข้อมูล (Data-Management Simulation) กรณีแก้ปัญหาภัยแล้ง
5. สถานการณ์จำลองกระบวนการทางสังคม (Social – Process Simulations) กรณีปัญหาสร้างเขื่อน
6. สถานการณ์จำลองที่เน้นระบบทางสังคม (Social – System Simulations) กรณีปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ตัวอย่างนวัตกรรม
ชุดกิจกรรม เสริมสร้างลักษณะนิสัย “ความประหยัด”โดยใช้สถานการณ์จำลอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
จัดทำโดย นางสาววารุณี ศโรภาส
ลักษณะชุดกิจกรรม
ประกอบด้วย
• แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประหยัด
• บทบาทของบุคคลจาก 5 อาชีพ
• บทบาทพิธีกรรายการ “เจาะใจ”
• เนื้อเพลง “ออมสิน” (สำหรับคั่นโฆษณา)

บทบาทพิธีกร
หัวข้อคำถามของผู้ดำเนินรายการเจาะใจ
นำท่านผู้ชมเข้าสู่รายการถึงลูกถึงคน ในตอนที่มีชื่อว่า วิกฤติน้ำมันแพงไทยทุกแห่งต้องช่วยกัน วันนี้เรามีวิทยากรรับเชิญจากหลากหลายสถาบัน เดี๋ยวเราทำความรู้จักวิทยากรของเราทั้ง 5 ท่านกันก่อนนะคะ เรียนเชิญทุกท่านแนะนำตนเองเลยค่ะ ........................ ส่วนผู้รับชมในห้องส่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ค่ะ ขอเสียงปรบมือด้วยค่ะ ขณะนี้น้อง ๆ จะได้รับแจกกระดาษ A4 เพื่อสรุปสาระที่ได้ในวันนี้เป็น Mind Mapping และในตอนท้ายน้อง ๆ และท่านผู้ชมทางบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเขียนคำถามขึ้นมาสู่เวทีนี้ได้เลยนะคะ
หัวข้อคำถามของผู้ดำเนินรายการเจาะใจ
นำท่านผู้ชมเข้าสู่รายการถึงลูกถึงคน ในตอนที่มีชื่อว่า วิกฤติน้ำมันแพงไทยทุกแห่งต้องช่วยกัน วันนี้เรามีวิทยากรรับเชิญจากหลากหลายสถาบัน เดี๋ยวเราทำความรู้จักวิทยากรของเราทั้ง 5 ท่านกันก่อนนะคะ เรียนเชิญทุกท่านแนะนำตนเองเลยค่ะ ........................ ส่วนผู้รับชมในห้องส่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ค่ะ ขอเสียงปรบมือด้วยค่ะ ขณะนี้น้อง ๆ จะได้รับแจกกระดาษ A4 เพื่อสรุปสาระที่ได้ในวันนี้เป็น Mind Mapping และในตอนท้ายน้อง ๆ และท่านผู้ชมทางบ้านสามารถแสดงความคิดเห็นหรือเขียนคำถามขึ้นมาสู่เวทีนี้ได้เลยนะคะ
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง

1. ขั้นเตรียมการสอน ได้แก่ การเตรียมในสิ่งเหล่านี้
1.1 กำหนดจุดประสงค์ ผู้สอนควรเตรียมให้ชัดเจนว่ามุ่งหมายให้ผู้เรียนเปลี่ยน
พฤติกรรมอะไรบ้าง เมื่อผู้เรียนเรียนรู้จากสถานการณ์แล้ว ต้องการให้ผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาใดได้เมื่อพบสถานการณ์นั้นแล้ว การกำหนดจุดประสงค์ไว้ชัดเจน จะช่วยให้การสร้างสถานการณ์จำลองทำได้ง่ายขึ้น
1.2 กำหนดสถานการณ์จำลองผู้สอนควรได้พิจารณาเลือกสถานการณ์ที่เป็นจริงมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเป็นสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วินิจฉัย ตัดสินใจที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้และทักษะที่ต้องการ
1.3 กำหนดโครงสร้างของสถานการณ์จำลอง ซึ่งประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ
กำหนดจุดประสงค์ บทบาทของผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละคน เตรียมข้อมูลจำเป็นหรือเนื้อหากำหนดสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เห็นเหมือนจริงในสังคม ลำดับเหตุการณ์ เวลา และปัญหาจากสถานการณ์สรุป อภิปราย
1.4 กำหนดสื่อการสอน วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ให้พร้อม
2. ขั้นดำเนินการสอน
2.1 ผู้สอนเสนอสถานการณ์จำลอง โดยอาจใช้วิธีต่อไปนี้ เล่าให้ฟังถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ดูรูปภาพแล้วเล่าประกอบ ให้ดูภาพยนตร์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ให้ดูจากฉากที่จัดไว้และมีผู้แสดงบทบาทประกอบ
2.2 ผู้เรียนศึกษาปัญหาและหาแนวทางที่จะแก้ไขปัญหา อาจให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อยร่วมกันแสดงความคิดเห็น
2.3 ผู้เรียนเสนอผลงานแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งอาจเป็นตัวแทนกลุ่มหรือทั้งหมด
3. ขั้นอภิปรายและสรุปผล
1) การอภิปรายภายหลังจากจบสถานการณ์จำลองเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดอภิปรายค้นหาว่าอะไรเกิดขึ้น และทำไมจึงเกิดสถานการณ์เช่นนั้น
2) การอภิปรายจะช่วยให้ครูประเมินความสำเร็จและความล้มเหลวของสถานการณ์จำลองและควรทำทันที
3) คำถามที่ใช้เป็นคำถามในลักษณะที่ประเมินผลผู้ร่วมกิจกรรม เช่น เกิดความคิดอะไรบ้างในขณะที่เข้าไปร่วมกิจกรรมในสถานการณ์นั้น? ได้กระทำอะไรจากความคิดนั้น?
4) ตอนท้ายควรอภิปรายเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสียและสิ่งที่ควรปรับปรุงเพื่อจะใช้สถานการณ์จำลองนั้นซ้ำอีก
สรุปขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง
• เตรียมการ
• นำเสนอสถานการณ์จำลองและแนวทางปฏิบัติ
• มอบหมายบทบาทผู้เรียน
• แสดง
• อภิปราย
• สรุปและประเมินผล
ข้อดี/ข้อเสียของการจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง
ข้อดี
• เป็นการให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ เช่นกระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการสื่อสาร กระบวนการคิด
• ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้สูงมากเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย สามารถจัดประสบการณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพความจำได้ดี สามารถถ่ายทอดสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับสภาพความเป็นจริงในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• สามารถจัดทดลองจริงได้ตามสมมติฐาน การทดลองและการประยุกต์ใช้ ช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในวิธีการเรียนรู้แบบแก้ปัญหา
• ควบคุมเวลาในการจัดการเรียนรู้ได้ดี และสามารถประเมินผลได้
ข้อเสีย
• เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ต้องใช้เวลามาก เช่น การเตรียมการ การแสดงและการอภิปราย
• เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ต้องใช้ค่าใช้จ่าย เพราะต้องใช้วัสดุอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆสำหรับผู้แสดง
• ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างสถานการณ์ เพียงพอหรือกำหนดสถานการณ์ได้ไม่ดีพอ การเรียนรู้ครั้งนั้นจะไม่เกิดสัมฤทธิผล
• ต้องอาศัยความชำนาญของผู้สอนในการอภิปรายและสรุปผล ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

2 ความคิดเห็น:

  1. เป็นนวัตกรรมที่ดี เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

    ตอบลบ
  2. เป็นนวัตกรรมที่ดี เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

    ตอบลบ